ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexznder Graham Bell)

เกรแฮม เบลล์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นตัวอย่างได้อย่างดีว่า นักวิทยาศาสตร์ที่จะคิดประดิษฐ์สิ่งใดนั้น สิ่งที่เขาคิดทำมักเกิดจากความจำเป็นที่ทำให้ต้องคิดขึ้นใช้ แต่บางครั้งสิ่งที่เขากำลังคิดนั้น ไม่ประสบผลสำเร็จ กลับไปประสบผลสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์และทำชื่อเสียงให้มากกว่า ดังเช่น เกรแฮม เบลล์ คิดเครื่องมือที่จะทำให้คนใบ้ได้ยินได้สำเร็จ แต่คิดโทรศัพท์เป็นผลสำเร็จ เป็นต้น


อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ เกิดที่เมืองเอดินเบอระ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1847 บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ ส่วนมารดาเป็นคนหูพิการ เขาจึงเรียนรู้การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ด้วยภาษาใบ้ได้อย่างดี โดยบิดาสอนให้เขาสังเกตริมฝีปากของมารดาเวลาที่นางพูด หูของเบลล์ยังสามารถแยกแยะ ความแตกต่างของเสียงที่ใกล้เคียงกันได้ดีอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่ใช้ยืนยันในเรื่องนี้ ก็คือ เขาเล่นเปียนโนได้ดีเยี่ยม โดยไม่ต้องอ่านโน้ต และเมื่อสังเกตพบว่าเสียงเพลงเกิดจากการสั่นสะเทือน เบลล์จึงคิดว่าทำไมเสียงจะเคลื่อนที่ไปบนเส้นลวดบ้างไม่ได้ และคงจะฟังได้ไกล ๆ เป็นแน่ ด้วยความคิดนี้ทำให้เขาสร้างเครื่องโทรศัพท์ของเขาเป็นเครื่องแรก เขาสร้างตัวส่งผ่าน ซึ่งมีที่พูดลักษณะคล้ายเขาสัตว์เป็นตัวนำคลื่นเสียงไปยังโลหะแผ่นแบน ซึ่งมีแม่เหล็กอยู่ใกล้ และเส้นลวดขดรอบแม่เหล็กนั้น เมื่อคลื่นเสียงจากคำพูดของเขาทำให้แผ่นโลหะสั่นสะเทือน ความสั่นสะเทือนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในเส้นลวดที่อยู่รอบแม่เหล็ก แล้วไหลผ่านเส้นลวดอีกเส้นหนึ่งซึ่งต่อไปยังเครื่องรับ ที่เครื่องรับจะมีเครื่องคล้าย ๆ กัน ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับไปเป็นเครื่องเสียงอีก เครื่องโทรศัพท์จริงเครื่องแรกได้ใช้ในปี ค.ศ.1876 โดยเบลและวัตสันเพื่อนของเขาที่ทำการทดลองร่วมกัน โดยทั้งคู่อยู่ห่างกัน 3 กิโลเมตร

สิ่งประดิษฐ์ของเบลทำให้เขาร่ำรวย แต่ในไม่ช้าเขาก็หันกลับไปทำงานให้กับคนหูหนวกอีก เพราะเขาคิดว่าสำคัญกว่าสิงอื่นใดทั้งหมด ในปี 1882 เบลล์แต่งงานกับเมเปิล ฮับบาร์ด ศิษย์หูหนวกของเขา ทำให้เขากระตือรือร้นจะประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้น แต่เขาไม่สามารถประดิษฐ์เครื่องช่วยในการฟังให้คนทีหูหนวกอย่างสนิทได้ แต่ก็สามารถช่วยเหลือผู้ที่แก้วหูเสียหายไม่มากนักได้

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1922

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น