ผลงาน : เป็นผู้คนพบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จนได้รับขนานนามว่า “บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์”
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เริ่มต้นด้วยการเป็นนายแพทย์ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ค่อยชอบ และเคยหนีเรียนในชั่วโมงผ่าตัด เพราะทนเห็นเลือดไม่ได้ แต่ชอบสะสมไข่นก ชอบการตกปลา ล่าสัตว์ และสนุกสนานกับการทดลองเกี่ยวกับสัตว์และพืชจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักธรรมชาติวิทยา” ผู้ยิ่งใหญ่
ชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1809 ในชูว์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ซึ่งต้องการให้ลูกชายดำเนินอาชีพทางด้านนี้เช่นกัน เขาจึงถูกส่งไปเรียนการแพทย์ที่เอดินเบอระ แต่เรียนได้ 2 ปีก็ลาออก เพราะใจไม่ชอบทางนี้
ชาร์ลส์เป็นคนที่ชอบสะสมสิ่งของที่เขาสนใจ เช่นแมลง (ที่ตายแล้ว – เขารู้สึกว่าเป็นความผิดที่ฆ่าพวกกมัน) เปลือกหอย ไข่นก เหรียญต่างๆ และหินแปลก ๆ เขาเล่าในภายหลังว่า การสะสมของเขาเป็นการเตรียมให้เขาทำงานเป็นนักธรรมชาติวิทยา
หลังจากที่ลาออกจากการเรียนแพทย์ บิดาจึงส่งชาร์ลส์ไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรียนทางศาสนา เพื่อจะบวชเป็นพระ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นี้เอง ที่เขาได้รับการแนะนำจากอาจารย์สอนพฤกษศาสตร์คนหนึ่ง ให้เขาไปเรียนวิชาธรณีวิทยาเพิ่มเติม จึงเท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ในวิชาธรรมชาติวิทยาที่เขาสนใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งชาร์ลส์ได้เห็นแมลงที่หายากสองชนิดบนต้นไม้ เขาจับไว้ด้วยมือแต่ละข้างอย่างรวดเร็ว แต่แล้วเขาเห็นตัวที่สาม ยิ่งหายากกว่า แมลงนั้น อยู่ตรงหน้าเขา เขาเอาแมลงตัวหนึ่งใส่เข้าไปในปากอย่างรวดเร็ว และยื่นมือออกไปจับตัวที่สาม แต่ตัวที่อยู่ในปากของเขาได้คายน้ำชนิดหนึ่งออกมาซึ่งทำให้ลิ้นชองชาร์ลส์ปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก จนทำให้เขาต้องถ่มแมลงตัวนั้นออกมา เขาเป็นห่วงว่าจะสูญเสียแมลงตัวนั้นมากกว่าเป็นห่วงว่าจะทำให้ลิ้นเจ็บ
และแล้วโชคก็ผ่านมาในชีวิตของเขา กองทัพเรือได้เตรียมการออกสำรวจรอบโลกโดยทางเรือ ชื่อ บีเกิล (Beagle) เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการรับรองของศาสตราจารย์ เฮนสโลว ดาร์วินได้รับเชิญให้เป็นนักสำรวจธรรมชาติวิทยา การสำรวจใช้เวลานานถึง 5 ปี ทำให้ดาร์วินได้มีโอกาสเปรียบเทียบสัตว์และพืชจากส่วนต่าง ๆ ของโลก เขาได้เห็นสัตว์ที่มีถุงหน้าท้อง เช่น จิงโจ้ ในประเทศออสเตรเลีย และในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะไม่พบในประเทศอื่น ๆ เมื่อการสำรวจมาถึงหมู่เกาะกาลาพากอสในอเมริกาใต้ดาร์วินก็ได้พบสัตว์ชนิดต่างๆ และพบว่าแต่ละเกาะมีสัตว์เฉพาะชนิด ซึ่งไม่พบในเกาะอื่น
สิ่งที่พบเห็นทำให้ดาร์วินต้องคิดอย่างหนัก สำหรับเขาเหมือนกับว่าสัตว์เหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น ๆ ส่วนตัวใดที่ไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็จะตายไป ส่วนที่อยู่ก็ได้ถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ ไปยังลูกหลาย การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้า ๆ ตลอด เวลาหลายพันปี ชนิดที่อ่อนแอและมีส่วนที่ด้อยกว่าก็จะตายไป ชนิดที่ดีกว่าก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมเฉพาะนั้น ๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวนนี่คือ สิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ
ชาร์ลส์ได้เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรก คือ “เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิ้ล” มันได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ชาร์ลส์ไม่เร่งร้อนที่จะเปิดเผยความคิดของเขาเรื่อง การกำเนิดของชีวิต บางทีเขาอาจจะต้องการเวลามากกว่านี้สำหรับคิด เขากังวลอย่างมากในการที่จะขัดแย้งกับความเห็นของทางศาสนาที่ทุกคนยอมรับ
แต่นักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่งชื่อ วอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกันกับดาร์วิน เขาเขียนจดหมายถึงดาร์วินในปี 1858 และส่งเอกสารเรื่องนี้ไปให้เขา เขาขอร้องให้ดาร์วินช่วยส่งไปยังมหาวิทยาลัย ดาร์วินมีน้ำใจดีพอที่จะช่วยทำให้พร้อมกับเสริมไปว่า ดาร์วินเองก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่มั่นใจในการที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชน เพราะว่าจะทำให้เกิดความโกลาหลเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
สิ่งที่พบเห็นทำให้ดาร์วินต้องคิดอย่างหนัก สำหรับเขาเหมือนกับว่าสัตว์เหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น ๆ ส่วนตัวใดที่ไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็จะตายไป ส่วนที่อยู่ก็ได้ถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ ไปยังลูกหลาย การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้า ๆ ตลอด เวลาหลายพันปี ชนิดที่อ่อนแอและมีส่วนที่ด้อยกว่าก็จะตายไป ชนิดที่ดีกว่าก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมเฉพาะนั้น ๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวนนี่คือ สิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ
ชาร์ลส์ได้เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรก คือ “เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิ้ล” มันได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ชาร์ลส์ไม่เร่งร้อนที่จะเปิดเผยความคิดของเขาเรื่อง การกำเนิดของชีวิต บางทีเขาอาจจะต้องการเวลามากกว่านี้สำหรับคิด เขากังวลอย่างมากในการที่จะขัดแย้งกับความเห็นของทางศาสนาที่ทุกคนยอมรับ
แต่นักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่งชื่อ วอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกันกับดาร์วิน เขาเขียนจดหมายถึงดาร์วินในปี 1858 และส่งเอกสารเรื่องนี้ไปให้เขา เขาขอร้องให้ดาร์วินช่วยส่งไปยังมหาวิทยาลัย ดาร์วินมีน้ำใจดีพอที่จะช่วยทำให้พร้อมกับเสริมไปว่า ดาร์วินเองก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่มั่นใจในการที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชน เพราะว่าจะทำให้เกิดความโกลาหลเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
โชคดี นักธรรมชาติวิทยาที่เคมบริดจ์ทราบเรื่องผลงานของดาร์วิน และชักชวนให้เขาเปิดเผยความคิดเห็น ดังนั้นเขาและวอลเลซจึงพิมพ์เอกสารขึ้นด้วยกัน หนึ่งปีต่อมา หนังสือที่มีชื่อเสียงของดาร์วินชื่อ “ออนดิ ออริจิน ออฟ สเปซี่ บาย มีนส์ ออฟ เนเชอราล ซีเลคชั่น” ก็ได้ปรากฏขึ้น และเหมือนดังที่ดาร์วินคาดคิดไว้ มันทำให้เกิดความโกลาหล สิ่งที่ดาร์วินพูดถึงคือ บอกว่า โลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์ มันมีอายุยาวนานกว่านั้น มันได้เปลี่ยนแปลงไปในเวลานี้ และยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน และผิดแผกแตกต่างออกไปจากที่ตอนเริ่มเกิดขึ้นใหม่ ๆ มนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตที่ธรรมดาที่สุด เรื่องราวของอดัมและอีฟในสวนอีเดนคงเป็นความจริงไปไม่ได้
ผู้คนคิดว่า ดาร์วินบอกว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากลิงเป็นความคิดที่น่าละอายอย่างยิ่ง หนังสือของดาร์วินถูกนำไปเผาทิ้งด้วยความโกรธและขยะแขยง ฝ่ายศาสจักรพร้อมที่จะเผชิญกับดาร์วิน ในปี 1860 พวกเขาเรียกประชุมที่อ๊อกซ์ฟอร์ด พวกพระและนักวิทยาศาสตร์พบกันที่นั่น เพื่อถกเถียงกันถึงต้นกำเนิดของสัตว์และต้นไม้
สำหรับเรา การประชุมกันแบบนี้ ฟังดูเป็นเรื่องหัวโบราณเหลือเกิน แต่ในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องจริงจัง ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความคิดเห็นของดาร์วินถูกต้อง และเรื่องราวของอดัมกับอีฟเป็นแต่เพียงเรื่องเล่า ฝ่ายศาสนจักรยังคงมีอำนาจมากจนดาร์วินไม่เคยได้รับรางวัลเกียรติยศจากผลงานของเขา
จากการหมกมุ่นในการทำงานทำให้สุขภาพของเขาทรุดลง แต่เขายังทำงานต่อไป “เมื่อข้าพเจ้าต้องหยุดการสังเกต ข้าพเจ้าก็ตาย” เขาพูดในวันที่ 17 เมษายน 1882 เขายังคงทำงานอยู่ และเสียชีวิตอีกสองวันต่อมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น