ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

แซมมวล เอฟ.บี.มอร์ส (Samuel Morse)

ผลงาน : เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องรับส่งโทรเลขเป็นคนแรกในปี ค.ศ.1832

ในปัจจุบันนี้ แม้การสื่อสารทางโทรคมนาคมและทางโทรเลขจะก้าวหน้าไปไกลมากแล้วก็ตาม แต่เมื่อย้อนไปในราวก่อน ค.ศ.1800 นั้น การส่งข่าวระหว่างกันในระยะไกล ยังคงเป็นการตีธง การส่งสัญญาณไฟ หรือโดยเมล์ด่วนกันอยู่ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1832 นั่นเอง ที่การส่งข่าวสารกันโดยทางกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ แซมมวล เอฟ.บี.มอร์ส นั่นเอง

แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส ชาวอเมริกัน เกิดในปี 1791 การคิดประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขของเขานั้น เริ่มขึ้นในปี 1832 ขณะเขาเดินทางโดยเรือใบที่ชื่อ ซัลลีย์ และเฝ้าดูการทดลองง่าย ๆ ของ ดร.แจคสัน ซึ่งโดยสารมาในเรือลำเดียวกัน โดย ดร. แจคสัน (Dr.Jackson) เอาลวดพันรอบ ๆ แท่งเหล็ก แท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่า เหล็กกลายเป็นแม่เหล็ก เนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แม่เมื่อตัดกระแสออก เหล็กก็หมดความเป็นแม่เหล็กและตะปูก็จะร่วงลงมา จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นนี้ ทำให้แซมมวล มอร์ส เกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า

มอร์สได้ประดิษฐ์สวิทช์ไฟง่าย ๆ ขึ้นจากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิทช์ แต่เมื่อเลิกกดปุ่มสวิทช์จะเปิดกระแสไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกสวิทช์เช่นนี้ว่า สะพานไฟของมอร์ส ใช้ในการส่งกระแสเป็นเวลาสั้น ๆ ยาว ๆ ตามรหัส กระแสนี้ไหลผ่านสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมือง หรือประเทศกับประเทศ ไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า อาร์เมเจอร์ ต่ออยู่ ในขณะที่มีกระแสสั้น ๆ หรือ จุด อาร์เมเจอร์ จะถูกดูดด้วยแม่เหล็ก และดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาว ๆ หรือ ขีด อาร์เมเจอร์จะถูกดูดนานหน่อย โดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจได้ยินเสียงออดสั้นบ้าง ยาวบ้างสลับไนไป มอร์สเป็นผู้คิดระบบที่ใช้รหัสสั้น ๆ ยาว ๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อที่จะได้ส่งข้อความไปตามเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า รหัสของมอร์ส ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้

แซมมวล มอร์ส ผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์ซึ่งทรงคุณค่า และเป็นพื้นฐานความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร ได้ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1875

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น