ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton)

ผลงาน : เป็นผู้พบแรงดึงดูดของโลก และเป็นผู้สร้างกล้องโทรทรรสน์ชนิดสะท้อนแสงเป็นคนแรก

นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ และเชื่อในทฤษฎีที่ว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน และชอบศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุที่เราทราบกันว่าเป็นเรื่องไร้สาระ นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันนี้เองที่ค้นพบกฎของแรงโน้มถ่วง และพัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่ คือ แคลคูลัส ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทุกแขนง

เซอร์ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ อังกฤษ ในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจในการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องจักร เครื่องกล แต่พออายุเริ่ม 15 ปี เขากลับเอาใจใส่การศึกษามากขึ้น พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนบิดา แต่เขาไม่ชอบ

นิวตัน เป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามาก พอที่จะหมกมุ่นอยู่กับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลก ๆ ใหม่ ขึ้น เป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆ ซึ่งใช้กำลังงานกระแสลม ทำให้เครื่องจักร และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้น้ำหยดลงมาในถังแล้ว สังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา

พอนิวตัน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี ค.ศ. 1665 เขาก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้ พอเกิดโรคระบาด มหาวิทยาปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิด เกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลาต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบ ๆ ด้วยตัวเอง คิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้สังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การสังเกตการณ์หล่นของผลแอปเปิล ที่ทำให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก และเป็นแรงที่ทำให้โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวต่าง ๆ อยู่ในระบบสุริยะ คนทั่วไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แต่นิวตันรู้ และสามารถพิสูจน์ได้ว่า แสงที่เราเห็นว่าไม่มีสีหรือที่เรียกว่าสีขาวเกิด จากสีรุ้งนั่นเอง

นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกัน แลมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปเคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ แบบมีตัวสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในราชสมาคมชั้นนำของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้ วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุค จึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันอีกเลย

นิวตัน ยังมีความสนใจในสิ่งนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้น ๆ จากนั้นในปี ค.ศ. 1699 เขาก็ได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก ซึ่งผลิตเหรียญที่ใช้กันในประเทศ

ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิดบางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อในทฤษฎีที่ว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถเปลี่ยนโลหะ เช่น ทองแดงให้เป็นทองได้ ในสมัยของนิวตันผู้คนมีความเชื่อกันเช่นนั้นมาก ซึ่งในปัจจุบันเราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ

ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคลที่มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสุขอยู่กับการทดลองวิทยาศาสตร์ และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นท่าน เซอร์ เมื่อมีอายุร่วม 60 ปีแล้ว

เซอร์ไอแซค นิวตัน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่ แม้ว่าทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล (Alfred Bernard Nobel)

อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล นักวิศวกรชาวสวีเดน ผู้ค้นพบวิธีทำระเบิดไดนาไมท์ แต่เล็งเห็นความร้ายกาจของมัน เขาจึงตั้งกองทุนเป็นจำนวนเงิน 9,000,000 เหรียญอเมริกัน เป็นรางวัลประจำปีให้แก่บุคคลซึ่งทำประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติ ในสาขาต่าง ๆ คือ รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์, สาขาเคมี, สาขาแพทย์ และสรีรศาสตร์ สาขาวรรณคดี และสาขาสันติภาพ

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และเคมีทำการแจกรางวัล โดยสถาบัน the Royal Academy of Science ในกรุงสต็อคโฮม ประเทศสวีเดน สาขาแพทย์ แจกรางวัลโดย Karolinska Medical- Chirurgical Institute ในต็อคโฮม, สาขาวรรณคดี แจกโดยสถาบัน the Swedish Academy ในกรุงสต็อคโฮม, สาขาสันติภาพ แจกโดย the Swedish Parliament

รางวัลโนเบลประกอบไปด้วย เหรียญทองที่ด้านหน้าเป็นภาพของอัลเฟรด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเงินสด รางวัลนี้ประกอบทุก ๆ ต้นปี แต่จะทำพิธีแจกในวันที่ 10 ธันวาคม อันเป็นวันครบรอบวันตายของอัลเฟรด โนเบิล

รางวัลโนเบลทำพิธีแจกเป็นครั้งแรกในปี 1901 นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ ก็คือ วิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน ผู้ค้นพบรังสีเอกซ์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ลาวัวซิเอร์ (Lavoiser)

นักวิทยาศาสตร์และนักการเมืองผู้อธิบายถึงทฤษฎีการไหม้เป็นคนแรก และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน เมื่อมีอายุเพียง 51 ปี ถ้าเขามีชีวิตยาวนานกว่านี้ โลกเราอาจจะมีสิ่งแปลก ๆ ใหม่ เกิดขึ้นมากกว่านี้ก็ได้ ชีวิตของเขาจึงเป็นบทเรียนให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้คิดว่า บางครั้งตำแหน่งทางการเมืองนั้น ก็ไม่เหมาะสำหรับนักวิทยาศาสตร์เลย

อังตวน ลาวัวซิเอร์ เกิดในปารีส เมื่อ ค.ศ.1743 เป็นบุตรของพ่อค้าผู้มั่งคั่ง เมื่ออายุได้ 13 ปี เขาเคยตั้งใจที่จะเป็นนักเขียนแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงหันกลับมาเริ่มสนใจวิชากฎหมายดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และธรณีวิทยาแทน ลาวัวซิเอร์ได้รับการศึกษาอย่างดี บิดาได้ส่งเขาไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาซาแรง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของปารีสในสมัยนั้น วิชาที่เขาสนใจที่สุด คือ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเคมี พอจบการศึกษาเขาได้เข้ารับราชการในแผนกจัดเก็บภาษีของรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับรางวัลจากราชบัณฑิตยสมาคมวิทยาศาสตร์ ในฐานะที่ค้นคว้าหาวิธีจุดตะเกียงตามถนนในกรุงปารีสได้สำเร็จ

ปี ค.ศ.1768 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสมาคมทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส ซึ่งตามกฎมีว่าผู้ที่จะเป็นสมาชิกได้จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 50 ปี แต่ลาวัวซิเอร์ในขณะนั้นมีอายุเพียง 25 ปี ทั้งนี้ เพราะผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เขาได้ทำไว้นั่นเอง

ผลงานที่ลาวัวซิเอร์ได้รับเกียรติยศ และชื่อเสียงมาก ก็คือ ทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ หรือสันดาปทฤษฎี เขาเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ของการเผาไหม้วัตถุต่าง ๆ ได้ละเอียด ชัดเจน เขาอธิบายว่า การลุกไหม้คือ การรวมตัวของสารกับออกซิเจนในอากาศ และถ้าไม่มีออกซิเจนการลุกไหม้ก็จะไม่เกิดขึ้น

ในขณะที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการเผาไหม้เขาได้ทดลองเกี่ยวกับส่วนประกอบของน้ำด้วย และได้ทำตามความคิดของ โรเบิร์ต บอยส์ ในการที่จะหาว่าสารนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรคือความแตกต่างระหว่างสารผสมและสารประกอบ ทุกสิ่งที่เขาทำจะละเอียดถี่ถ้วนและเป็นระบบ

ลาวัวซิเอร์ถูกประหารชีวิต ที่กลางเมืองปารีส ด้วยกิโยติน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ขณะอายุได้ 51 ปี ในข้อหาว่า ทำการกดขี่ข่มเหงพลเมืองด้วยการรีดนาทาเร้นภาษี

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexznder Graham Bell)

เกรแฮม เบลล์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นตัวอย่างได้อย่างดีว่า นักวิทยาศาสตร์ที่จะคิดประดิษฐ์สิ่งใดนั้น สิ่งที่เขาคิดทำมักเกิดจากความจำเป็นที่ทำให้ต้องคิดขึ้นใช้ แต่บางครั้งสิ่งที่เขากำลังคิดนั้น ไม่ประสบผลสำเร็จ กลับไปประสบผลสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์และทำชื่อเสียงให้มากกว่า ดังเช่น เกรแฮม เบลล์ คิดเครื่องมือที่จะทำให้คนใบ้ได้ยินได้สำเร็จ แต่คิดโทรศัพท์เป็นผลสำเร็จ เป็นต้น


อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ เกิดที่เมืองเอดินเบอระ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1847 บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ ส่วนมารดาเป็นคนหูพิการ เขาจึงเรียนรู้การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ด้วยภาษาใบ้ได้อย่างดี โดยบิดาสอนให้เขาสังเกตริมฝีปากของมารดาเวลาที่นางพูด หูของเบลล์ยังสามารถแยกแยะ ความแตกต่างของเสียงที่ใกล้เคียงกันได้ดีอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่ใช้ยืนยันในเรื่องนี้ ก็คือ เขาเล่นเปียนโนได้ดีเยี่ยม โดยไม่ต้องอ่านโน้ต และเมื่อสังเกตพบว่าเสียงเพลงเกิดจากการสั่นสะเทือน เบลล์จึงคิดว่าทำไมเสียงจะเคลื่อนที่ไปบนเส้นลวดบ้างไม่ได้ และคงจะฟังได้ไกล ๆ เป็นแน่ ด้วยความคิดนี้ทำให้เขาสร้างเครื่องโทรศัพท์ของเขาเป็นเครื่องแรก เขาสร้างตัวส่งผ่าน ซึ่งมีที่พูดลักษณะคล้ายเขาสัตว์เป็นตัวนำคลื่นเสียงไปยังโลหะแผ่นแบน ซึ่งมีแม่เหล็กอยู่ใกล้ และเส้นลวดขดรอบแม่เหล็กนั้น เมื่อคลื่นเสียงจากคำพูดของเขาทำให้แผ่นโลหะสั่นสะเทือน ความสั่นสะเทือนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในเส้นลวดที่อยู่รอบแม่เหล็ก แล้วไหลผ่านเส้นลวดอีกเส้นหนึ่งซึ่งต่อไปยังเครื่องรับ ที่เครื่องรับจะมีเครื่องคล้าย ๆ กัน ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับไปเป็นเครื่องเสียงอีก เครื่องโทรศัพท์จริงเครื่องแรกได้ใช้ในปี ค.ศ.1876 โดยเบลและวัตสันเพื่อนของเขาที่ทำการทดลองร่วมกัน โดยทั้งคู่อยู่ห่างกัน 3 กิโลเมตร

สิ่งประดิษฐ์ของเบลทำให้เขาร่ำรวย แต่ในไม่ช้าเขาก็หันกลับไปทำงานให้กับคนหูหนวกอีก เพราะเขาคิดว่าสำคัญกว่าสิงอื่นใดทั้งหมด ในปี 1882 เบลล์แต่งงานกับเมเปิล ฮับบาร์ด ศิษย์หูหนวกของเขา ทำให้เขากระตือรือร้นจะประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้น แต่เขาไม่สามารถประดิษฐ์เครื่องช่วยในการฟังให้คนทีหูหนวกอย่างสนิทได้ แต่ก็สามารถช่วยเหลือผู้ที่แก้วหูเสียหายไม่มากนักได้

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1922

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โจเซฟ พริสต์เลย์ (Joseph Priesley)

ผลงาน : เป็นผู้ค้นพบก๊าซออกซิเจนเป็นคนแรก ในปี ค.ศ. 1774

นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบก๊าซออกซิเจนเป็นคนแรก เป็นผู้ที่มีมันสมองพิเศษ เรียนรู้ได้เร็ว แต่ต้องถูกชาวอังกฤษต่อต้าน เพราะเหตุที่เขานิยมการปฏิวัติในฝรั่งเศสและอเมริกา จนถูกขู่ทำร้ายร่างกายจนต้องอพยพจากอังกฤษ ไปอยู่อเมริกาตลอดชีวิต

โจเซฟ พริสต์เลย์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1733 ที่ยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวช่างทอผ้า เมื่อเป็นเด็กค่อนข้างบอบบาง ขี้โรค แต่สนใจในทางตำรับตำรา และภาษาศาสตร์ทุกชนิด ภายหลังจบการศึกษาเขาได้งานทำเป็นครูสอนทางด้านภาษาที่วอร์ชิงตัน

ในสถานบันแห่งนี้ โจเซฟได้เคยฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิชาเคมีบ่อยๆ ประกอบกับได้เคยไปชมกิจการของโรงงานทำเบียร์แห่งหนึ่ง ได้เห็นการหมักและผลิตเบียร์ด้วยเชื้อ โดยมีก๊าซชนิดหนึ่งมีกลิ่นออกมา คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเอง เมื่อเขาทดสอบคุณสมบัติของก๊าซนี้ดูก็พบว่าเป็นก๊าซไม่ติดไฟ เขาจึงคิดที่จะค้นหาก๊าซอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลอง

ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1774 เขาจึงค้นพบก๊าซออกซิเจน จากการเผาผงปรอททองแดงด้วยเลนซ์รวมแสงอันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว วิธีทำของเขา ก็คือ ให้แสงอาทิตย์ผ่านเลนซ์ลงมารวมกันที่จุด ๆ หนึ่ง แล้วเอาผงปรอททองแดงวางไว้ตรงจุดนี้ ผงปรอททองแดงถูกแผดเผาจากความร้อนของดวงอาทิตย์หนักเข้าไม่ช้า ก็สลายตัวออกให้ก๊าซอย่างหนึ่งระเหยออกมา ก๊าซนี้ไม่มีสี แต่มีคุณสมบัติช่วยให้ไฟติด มีแสงสว่างมากกว่าธรรมดา ทั้งช่วยให้สัตว์ดำรงชีวิตอยู่ได้นานกว่าอากาศธรรมดา เขนานนามก๊าซนี้ว่า “Dephlogisticated Air” (ดีฟลอจิสติเคทด์ แอร์) แต่ต่อมาภายหลัง ลาวัวซิเอร์ได้ขนานนามก๊าซนี้ใหม่ว่า ออกซิเจน (Oxygen)”

นอกจากนั้น พริสต์เลย์ ยังได้พบวิธีจับก๊าซโดยไล่ที่น้ำได้พบอ๊อกไซด์ของไนโตรเจน พบก๊าซกรดเกลือ ก๊าซแอมโมเนีย ยิ่งกว่านั้น เขายังทดลองให้เห็นว่า สารอินทรีย์ทุกชนิดเมื่อไหม้ไฟแล้ว จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกครั้ง เขาหาวิธีเผาสารต่าง ๆ แล้วคอยจับก๊าซเก็บไว้ได้หลายอย่าง

โจเซฟ พริสต์เลย์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1804

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อเล็สซานโดร โวลต้า (Alessandro Volta)

ผลงาน : เป็นผู้คนพบกระแสไฟฟ้า

นักฟิสิกส์และเคมีชาวอิตาเลียน ผู้คนพบกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ และป็นผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้า จนได้รับเกียรติให้นำชื่อของเขามาเป็นชื่อหน่วยของการวัดแรงเคลื่อนของไฟฟ้ากระแส คือ คำว่า โวลต์

อเล็สซานโดว โวลต้า เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1745 ที่ประเทศอิตาลี เขาเรียนหนังสือเก่งโดยเฉพาะวิชาเคมี และฟิสิกส์ จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ประจำวิชาเคมี และฟิสิกส์ที่บ้านเกิดตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปี และอีก 5 ปีต่อมา เขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์ประจำวิชาปรัชญาธรรมชาติวิทยา

โวลต้าค้นพบว่า ในความชื้นระหว่างโลหะนั้น จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลได้ จากการเชื่อมปลายโลหะต่างชนิดทั้ง 2 อันเข้าด้วยกัน จากหลักการนี้โวลต้าเริ่มลงมือประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าขึ้น โดยเอาคาร์บอนและสังกะสีมาทำเป็นขั้ว

นอกจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าแล้ว โวลต้ายังประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์อีกมาก อาทิเช่น ตะเกียงแก๊ส เป็นต้น

จากผลงานของเขานี่เอง ที่เขาได้รับการยกย่องให้ใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแส คือ คำว่า โวลต์นั่นเอง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

แซมมวล เอฟ.บี.มอร์ส (Samuel Morse)

ผลงาน : เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องรับส่งโทรเลขเป็นคนแรกในปี ค.ศ.1832

ในปัจจุบันนี้ แม้การสื่อสารทางโทรคมนาคมและทางโทรเลขจะก้าวหน้าไปไกลมากแล้วก็ตาม แต่เมื่อย้อนไปในราวก่อน ค.ศ.1800 นั้น การส่งข่าวระหว่างกันในระยะไกล ยังคงเป็นการตีธง การส่งสัญญาณไฟ หรือโดยเมล์ด่วนกันอยู่ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1832 นั่นเอง ที่การส่งข่าวสารกันโดยทางกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ แซมมวล เอฟ.บี.มอร์ส นั่นเอง

แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส ชาวอเมริกัน เกิดในปี 1791 การคิดประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขของเขานั้น เริ่มขึ้นในปี 1832 ขณะเขาเดินทางโดยเรือใบที่ชื่อ ซัลลีย์ และเฝ้าดูการทดลองง่าย ๆ ของ ดร.แจคสัน ซึ่งโดยสารมาในเรือลำเดียวกัน โดย ดร. แจคสัน (Dr.Jackson) เอาลวดพันรอบ ๆ แท่งเหล็ก แท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่า เหล็กกลายเป็นแม่เหล็ก เนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แม่เมื่อตัดกระแสออก เหล็กก็หมดความเป็นแม่เหล็กและตะปูก็จะร่วงลงมา จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นนี้ ทำให้แซมมวล มอร์ส เกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า

มอร์สได้ประดิษฐ์สวิทช์ไฟง่าย ๆ ขึ้นจากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิทช์ แต่เมื่อเลิกกดปุ่มสวิทช์จะเปิดกระแสไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกสวิทช์เช่นนี้ว่า สะพานไฟของมอร์ส ใช้ในการส่งกระแสเป็นเวลาสั้น ๆ ยาว ๆ ตามรหัส กระแสนี้ไหลผ่านสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมือง หรือประเทศกับประเทศ ไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า อาร์เมเจอร์ ต่ออยู่ ในขณะที่มีกระแสสั้น ๆ หรือ จุด อาร์เมเจอร์ จะถูกดูดด้วยแม่เหล็ก และดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาว ๆ หรือ ขีด อาร์เมเจอร์จะถูกดูดนานหน่อย โดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจได้ยินเสียงออดสั้นบ้าง ยาวบ้างสลับไนไป มอร์สเป็นผู้คิดระบบที่ใช้รหัสสั้น ๆ ยาว ๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อที่จะได้ส่งข้อความไปตามเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า รหัสของมอร์ส ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้

แซมมวล มอร์ส ผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์ซึ่งทรงคุณค่า และเป็นพื้นฐานความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร ได้ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1875

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS