อัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์” เชื้อสายเยอรมัน ผู้ให้กำเนิดระเบิดปรมาณู และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์ และเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 20
ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค ซึ่งไอน์สไตน์อาศัยอยู่ที่นี่จนถึงอายุ 15 ปี เขามีจิตใจรักในทางดนตรี และสามารถสีไวโอลินได้ดี เมื่อมีอายุแค่ 6 ปี พอมีอายุได้ 12 ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง
เมื่ออายุได้ 15 ปี ไอน์สไตน์ย้ายตามครอบครัวจากมิวนิคไปอยู่ที่มิลาน ประเทศอิตาลี ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ the Federal Institute of Technology ในซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้ ทั้งที่ตกวิชาภาษาศาสตร์, สัตวศาสตร์ และพฤกษศาสตร์
หลังจากจบการศึกษาในปี 1900 จึงได้งานทำเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ในสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงบอร์น

ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1921 และได้รับเชิญไปปาฐกถาตามประเทศต่างๆ ในปี ค.ศ. 1933 ขณะที่ เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำการกวาดล้างชาวยิว ไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิว จึงถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองชาวเยอรมัน เขาจึงตกใจจะอยู่ในสหรัฐ โดยทำงานอยู่ที่สถาบันการศึกษาในปรินซ์ตันนิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี ค.ศ. 1941
ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ ของไฟฟ้าและทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีผลงานสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎีแควนตัม และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับความโน้มถ่วง
เขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งความคิดในสมัยของโคเปอร์นิคัส (นักดาราศาสตร์ชาวโปล) ก็ได้ถูกไอน์สไตน์หักล้างหลายประการตราบชีวิตของเขา ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้อย่างมากมาย
ไอน์สไตน์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1955
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น